เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 3. สัปปุริสสูตร

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ข้าพเจ้านั้น
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’
เมื่อข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป’ ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนอหังการ มมังการ
และมานานุสัย1ในกายที่มีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอกได้
ภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุรูปนั้นกล่าว เธอทั้งหลายควรชื่นชมยินดีว่า ‘สาธุ’
แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายได้ดีแล้ว
ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุเช่นท่านเป็นเพื่อนพรหมจารี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

ฉวิโสธนสูตรที่ 2 จบ

3. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ

[105] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [2. อนุปทวรรค] 3. สัปปุริสสูตร

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษนั้น จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ธรรมของอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว เธอย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลสูง1บวช ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ มิได้เป็นผู้
ออกจากตระกูลสูงบวช’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ
ส่วนสัตบุรุษย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูง ธรรม
คือโลภะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป ธรรมคือโทสะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป หรือธรรมคือ
โมหะย่อมไม่ถึงความสิ้นไป แม้ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลสูงบวชแล้ว แต่
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เธอก็เป็นผู้
ควรบูชา ควรสรรเสริญ ในหมู่ภิกษุนั้น’ เพราะความเป็นผู้มีตระกูลสูงนั้น
สัตบุรุษนั้นจึงทำข้อปฏิบัติเท่านั้นไว้ในภายใน แล้วไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของสัตบุรุษ (1)
อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจากตระกูลใหญ่2บวช ฯลฯ เป็นผู้ออก
จากตระกูลมีโภคะมากบวช ... เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช อสัตบุรุษ
นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช ส่วน
ภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจากตระกูลมีโภคะโอฬารบวช’ เพราะความเป็นผู้มี
โภคะโอฬารนั้น อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมของอสัตบุรุษ